หน้าที่ต่างๆในกองถ่าย ทีมโปรดักชั่น

หน้าที่และตำแหน่งต่างๆในกองถ่ายภาพยนตร์ ถ่ายโฆษณา กองถ่ายโปรดักชั่น เฮ้าส์

ก่อนการผลิต หรือก่อนออกกองถ่าย

Author : ผู้ประพันธ์ อาจเป็นผู้ที่แต่งชิ้นงานนั้นๆขึ้นมาอยู่แล้ว

Screenwriter : ผู้เขียนบท

Writer : คนเขียนบทภาพยนตร์

Executive Producer : ผู้ควบคุมงานสร้าง โปรดิวเซอร์ในด้านเงินทุน จะเหนือกว่า Producer

Producer : ผู้อำนวยการสร้าง ผู้ควบคุมการผลิต ผู้ควบคุมงานสร้าง เป็นผู้ที่ออกงบประมาณในการสร้างให้ เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างผู้กำกับกับนายทุน คอยดูแลควบคุมการถ่ายทำให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย คุยกับนายทุนให้เข้าใจสิ่งที่ทางกองถ่ายจำเป็นต้องใช้ ต้องมี แต่ก็ต้องคอยควบคุมดูแลไม่ให้ผู้กำกับออกนอกลู่นอกทาง หรือว่าใช้งบประมาณมากจนเกินไป บางครั้งโปรดิวเซอร์ก็ต้องลงไปดูแลถึงในกองถ่ายด้วย เรียกว่าควบคุมผู้กำกับอีกที แต่ต้องให้อิสระผู้กำกับในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ ไม่ไปจำกัดหรือทำให้ผู้กำกับทำงานลำบากมากขึ้น

ระหว่างการผลิต Production

Associate Producer : ผู้อำนวยการดูการสร้าง เป็นคนที่คอยมาตรวจดูการสร้าง

Director : ผู้กำกับ เป็นผู้ที่ควบคุมกองการถ่ายทำภาพยนตร์ เป็นผู้กำกับควบคุมทิศทางของกองถ่ายทั้งหมด ทั้งในแง่ของการแสดง และงานเบื้องหลังอื่น ๆ หน้าที่หลักของผู้กำกับก็คือคิดเพื่อเล่าเรื่อง และต้องรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกองถ่ายเพื่อคอยแก้ไขด้วย ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญที่ผู้ช่วยฯ ตัดสินใจเองไม่ได้ ผู้กำกับจะเป็นคนที่ตัดสินใจและชี้ขาดว่าจะทำอย่างไร

First Assistant Director : ผู้ช่วยผู้กำกับหนึ่ง เป็นผู้ช่วยดูแลในกองถ่ายทำภาพยนตร์

Assistant Director/Second Assistant Director = ผู้ช่วยผู้กำกับ ทำหน้าที่ช่วยผู้กำกับทุกด้าน โดยปกติก็จะแบ่งเป็น ผู้ช่วยผู้กำกับ 1, ผู้ช่วยผู้กำกับ 2, ผู้ช่วยผู้กำกับ 3 (อาจมีแค่ 1 คน หรือ 3 คนก็ได้ แล้วแต่กอง) ทำหน้าที่คอยจัดการให้สิ่งที่ผู้กำกับต้องการนั้นออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้ ถ้าในขั้นเตรียมงานก่อนวันถ่ายทำ ผู้ช่วยผู้กำกับก็จะช่วยในด้านการคัดเลือกนักแสดง การจัดให้นักแสดงมาซ้อม มาลองเสื้อผ้า จัดตารางเวลาการถ่ายทำ ดูแลและตามงานในฝ่ายต่าง ๆ ให้กับผู้กำกับ เช่น งานด้านฉาก Prop เสื้อผ้า สถานที่ถ่ายทำ พอมาถึงในกองถ่าย ก็ต้องคอยประสานงานในฝ่ายต่าง ๆ ขณะที่ทำการถ่ายทำ เช่น ดูแลเรื่องการแต่งตัวแต่งหน้านักแสดงให้เป็นไปตามกำหนดการและตามที่ผู้กำกับต้องการ ดูแลการเซ็ตฉาก Prop ให้เป็นไปตามที่ผู้กำกับบอก เช็คดูว่ากล้อง ไฟ เสียง พร้อมไหม การถ่ายทำเป็นไปตามแผนที่วางไว้ไหม ผู้กำกับต้องช่วยให้การถ่ายทำเป็นไปตามตารางเวลา ไม่เกินกำหนด ช่วยผู้กำกับในการโยกย้ายตารางการถ่ายทำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ หากมีปัญหาอะไรในเบื้องต้นที่สามารถแก้ไขได้ก็ต้องแก้ไขในระดับหนึ่ง ก่อนที่จะถึงมือผู้กำกับ เรียกได้ว่าเป็นมือเป็นเท้าของผู้กำกับเลย แล้วผู้ช่วยผู้กำกับ 1 จะมีอำนาจมากกว่า ผู้ช่วยฯ 2 มากกว่าผู้ช่วยฯ 3 ซึ่งผู้ช่วยฯ แต่ละคนก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป

Director of Photography : ผู้กำกับภาพ ดูแลเรื่องภาพที่จะถ่ายออกมา

Cinematographer : ผู้กำกับภาพ ก็คือ ตากล้องที่ทำหน้าที่ถ่ายภาพ แต่ว่าไม่ได้ทำหน้าที่ถ่ายทำตามคำสั่งของผู้กำกับอย่างเดียว ผู้กำกับภาพจะได้รับการถ่ายทอดมาจากผู้กำกับว่าต้องการอารมณ์แบบไหน เล่าเรื่องยังไง แล้วผู้กำกับภาพก็จะมาคิดวิธีการถ่าย ออกแบบช็อต ออกแบบภาพที่จะออกมาผ่านเฟรม แล้วก็เอาไปเสนอผู้กำกับว่าจะถ่ายแบบนี้นะ ภาพประมาณนี้นะ ผู้กำกับก็ตัดสินใจว่าจะเอาไม่เอา นอกจากนี้ ผู้กำกับภาพต้องคอยดูแลเรื่องการจัดแสงด้วย เพราะนอกจากการจัดองค์ประกอบภาพแล้ว การจัดแสงก็จะช่วยในการสื่อสารอารมณ์ของภาพด้วย เพราะฉะนั้นผู้กำกับภาพต้องรู้เทคนิคต่าง ๆ มากมาย เพื่อจะสร้างสรรค์ภาพให้สามารถสื่อสารได้ดังใจผู้กำกับ

Second Unit Director : ในบางครั้ง การถ่ายทำบางฉากก็ยิ่งใหญ่มาก มีการลงทุนสูง และถ่ายทำหลาย ๆ เทคไม่ได้ เช่น ฉากระเบิดใหญ่ ๆ ฉากสงครามต่าง ๆ ทำให้ต้องมีกล้องถ่ายภาพยนตร์หลายตัว ซึ่ง Second Unit Director ก็คือคนที่ทำหน้าที่ผู้กำกับในจุดถ่ายทำอีกจุดหนึ่ง หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า ผู้กำกับกล้อง 2  ก็ทำหน้าที่เหมือนผู้กำกับ แต่ว่าดูแลการถ่ายทำของอีกกล้องหนึ่ง บางทีก็มีกล้อง 3 กล้อง 4 กล้อง 5 ด้วย

Gaffer : ช่างไฟ ดูแลเรื่องการจัดแสงให้เป็นไปตามที่ผู้กำกับภาพต้องการ

Key Grip = จัดการเรื่องอุปกรณ์ไฟ

Boom Operator = Boom ในที่นี้ก็คือ ไมค์บูม เป็นไมค์ที่มีประสิทธิภาพในการเก็บเสียงมาก สังเกตได้จากเบื้องหลังการถ่ายทำหนังเรื่องต่าง ๆ คุณอาจจะเคยเห็นไมค์ที่ด้ามยาว ๆ ตรงหัวไมค์มีขน ๆ ส่วนใหญ่จะสีเทา ๆ เหมือนไม้ถูพื้น นั่นแหละ ไมค์บูม

Script Supervisor : คนดูแลความต่อเนื่องของบท

Continuity Person : คนดูแลความต่อเนื่อง ผู้จดจำความต่อเนื่อง คอยดูแลความต่อเนื่อง ของการแสดง ในแต่ละช็อต สำคัญมากเหมือนกัน คือ ในการถ่ายทำหนังนั้น ไม่ได้ถ่ายทำไปตามลำดับเวลาในหนังจริง ๆ วันหนึ่ง ๆ อาจถ่ายหลายฉาก และฉากหนึ่ง ๆ อาจถ่ายหลายวัน เพราะฉะนั้น ผู้ควบคุมความต่อเนื่องต้องคอยจดบันทึก รวมถึงถ่ายภาพเก็บไว้ ว่าภาพที่เกิดขึ้นในแต่ละช็อตแต่ละฉากเป็นอย่างไร เช่น การแต่งตัวแต่งหน้าของนักแสดง Prop ที่อยู่ในฉาก นักแสดงประกอบมีกี่คน ใครบ้าง ยืนอยู่ตรงไหน คือภาพต่าง ๆ ที่อยู่ในเฟรมต้องจดจำเอาไว้ให้ได้ เพื่อที่ว่าเมื่อกลับมาถ่ายฉากเดิมในวันอื่น ก็จะสามารถถ่ายได้เหมือนเดิม อารมณ์ต่อเนื่อง ไม่สะดุด ไม่ให้คนดูจับผิดได้

Camera Operator : ช่างภาพ หรือ Camera Man

Focuspuller : ผู้ช่วยผู้กำกับภาพหนึ่ง หรือผู้ปรับชัดระยะถ่าย

Steadicam Operator : เป็นตากล้องคนหนึ่ง เพียงแต่ว่ากล้องที่ถ่ายเป็นกล้องพิเศษที่เรียกว่า Steadicam คือ กล้องที่จะเซ็ตไว้ให้ติดกับตัวตากล้องเลย แล้วตากล้องจะเดินถือกล้องนี้ถ่ายไปด้วย

Claper/Loader : ผู้ช่วยผู้กำกับภาพสอง ช่วยในการวัดระยะภาพ และบันทึกสเลท

Dolly Pusher : ผู้เข็นดอลลี่ คอยเข็นดอลลี่ (ฐานเลื่อนใต้กล้อง บางทีอาจรวมถึงเครนด้วย) อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นรางดอลลี่ คือรางที่หน้าตาเหมือนรางรถไฟ ที่ตากล้องจะเอากล้องไปตั้ง แล้วขึ้นไปนั่งบนรางดอลลี่ แล้วเวลาถ่ายก็จะเลื่อนกล้องไปตามรางนี้ จะทำให้ได้ภาพที่เคลื่อนไหวแบบนิ่งมาก ๆ

Art Director : ผู้กำกับฝ่ายศิลป์ มีหน้าที่ดูแล และตกแต่งฉาก ก็คือ ออกแบบ สร้างสรรค์งานสร้างทั้งหลายที่เราเห็นอยู่ในหนัง ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านการสร้างฉาก อุปกรณ์ประกอบฉาก หรือที่เรียกว่า Prop การแต่งกายของนักแสดง องค์ประกอบภาพที่จะออกมาในเฟรม ทั้งหมดนี้ ผู้กำกับศิลป์ ต้องดูแลและสร้างสรรค์งานทั้งหมดให้ออกมาตามที่ผู้กำกับต้องการ เพราะว่างานศิลป์ในการสร้างหนังนั้น ทั้งฉาก Prop เสื้อผ้า และอื่น ๆ ต้องออกมากลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียวกัน เสื้อผ้าจะโดดจากฉากไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต้องมีผู้กำกับศิลป์คอยกำกับดูแลทั้งหมดนี้ให้เป็นกลมกลืน สวยงาม และตรงตามโจทย์ที่ผู้กำกับกำหนด

Set Designer : ออกแบบฉาก

Set Dresser : สร้างสรรค์ ตกแต่งฉากให้เป็นไปตามที่ออกแบบไว้

Property Master : หัวหน้าอุปกรณ์ และวัสดุ Property ก็คือ Prop หรืออุปกรณ์ประกอบฉาก ก็คือ ดูแลเรื่องการหาอุปกรณ์ประกอบฉาก ซึ่งบางครั้งก็ต้องซื้อ เช่า หรือทำขึ้นมาใหม่

Rigger : ผู้ดูแลเครื่องมือขนาดใหญ่

Unit Carpenter / Painter ช่างไม้ และทาสี (หน่วยประกอบฉาก)

Wardrobe Supervisor : ผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย (ในกรณีที่มีการแต่งกายย้อนยุค หรือต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเสื้อผ้า)

Chief Make-Up Artist : หัวหน้าฝ่ายแต่งหน้า

Make-up Artist : ก็คือช่างแต่งหน้านักแสดง

Body Make-up Artist : คล้าย ๆ ช่างแต่งหน้า แต่คราวนี้เป็นตบแต่งที่ร่างกายของนักแสดงค่ะ เพราะบางทีนักแสดงก็ต้องทาตัวดำ หรือว่าเติมแผล เติมร่องรอยต่าง ๆ

Hair Stylist : ผู้ออกแบบทรงผม

Hairdresser : ช่างทำผม

Actor : นักแสดงชาย

Actress : นักแสดงหญิง

Costume Designer : คือผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายของนักแสดง คือ แค่ออกแบบ ไม่ต้องลงไปจัดหาหรือว่าแต่งตัวให้นักแสดงเองก็ได้ แต่ต้องควบคุมดูแลให้การแต่งกายของนักแสดงออกมากแล้วเป็นไปตามที่ออกแบบไว้ ตามโจทย์ที่ผู้กำกับต้องการ

Costumer : คือ คนที่คอยจัดหาเสื้อผ้านักแสดง แต่งตัวให้นักแสดง ให้เป็นไปตามที่ Designer ออกแบบไว้

Stills Photographer : ผู้บันทึกภาพนิ่ง, ถ่ายภาพนิ่ง

Police Liasion : ผู้ติดต่อประสานงาน คอยประสานงานระหว่างกองถ่าย และบุคคลภายนอก

Stunt Coordinator : ควบคุมดูแลเรื่องสตั๊นท์

Film Loader : ก็คือคนที่ทำหน้าที่เตรียมฟิล์ม และเปลี่ยนม้วนฟิล์มที่ใช้ถ่ายทำ เวลาฟิล์มหมด ซึ่งจะมี Reporter ทำหน้าที่คอยจดเวลาที่ใช้ไปในฟิล์มแต่ละม้วน ว่าถ่ายอะไรไปบ้าง และ Reporter ก็จะคอยดูค่ะว่าฟิล์มใกล้หมดม้วนรึยัง ความยาวของฟิล์มเพียงพอที่จะใช้ถ่ายทำในช็อตต่อไปหรือเปล่า

Electrician  : ช่างไฟฟ้า ดูแลเรื่องไฟฟ้าในกองถ่าย

Sound Engineer : ผู้บันทึกเสียง คอยดูแลเรื่องเสียง

Assistant Sound Engineer : ผู้ช่วยผู้บันทึกเสียง ส่วนมากจะต้องช่วยถือไมล์บูม

Editor : ผู้ตัดต่อลำดับภาพ ทำหน้าที่ตัดต่อภาพ ทำหน้าที่นำภาพจากฟิล์มที่ถ่ายทำมา มาร้อยเรียงให้เป็นภาพยนตร์ ตามบทภาพยนตร์หรือ Storyboard ที่มีอยู่ แต่ใช่ว่าผู้ตัดต่อจะต้องตัดต่อตามบทเป๊ะๆ  ผู้ตัดต่อสามารถใส่เทคนิคต่างๆ หรือว่าเสนอวิธีการเล่าเรื่องที่แตกต่างไปได้ แต่ต้องเล่าในสิ่งที่ผู้กำกับต้องการนำเสนอ แต่ถึงแม้จะเล่าเรื่องให้ตรงตามบทภาพยนตร์ แต่ผู้ตัดต่อภาพก็ต้องรู้วิธีการเล่าเรื่องให้มีความต่อเนื่อง รู้จังหวะว่าจังหวะไหนที่ควรจะตัดภาพนี้ เปลี่ยนไปอีกภาพหนึ่ง ไม่ให้สะดุด ก็ยากมากๆ เหมือนกัน

Production Sound Mixer : คนที่ทำหน้าที่ Mix หรือผสมเสียง เพราะว่าในการถ่ายทำ เค้าจะถ่ายแยกเสียงเป็นช่องต่าง ๆ มีเส้นเสียงพูดของนักแสดงแต่ละคน เส้นเสียงบรรยากาศ แล้วก็ยังต้องมีการใส่ Special Effect เข้าไปอีก คน Mix เสียง ก็คือคนที่จับเอาเสียงพวกนี้มาผสมกันให้ได้อย่างกลมกลืนและสมจริง

Music Mixer : คล้าย ๆ กับ Sound Mixer  แต่ว่า Mix เสียงที่เป็นเสียงเพลง และดนตรีประกอบ

Visual Effects Director : ก็กำกับดูแลด้าน Effect ทางด้านภาพ

FX Coordinator : FX หมายถึง Effect

Production Manager : ผู้จัดการกองถ่าย ผู้จัดการฝ่ายผลิต เป็นผู้ที่คอยควบคุม และคอยดูแล ในกองถ่ายภาพยนตร์ ก็คือ คนที่คอยดูแลประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการต่าง ๆ ในกองถ่าย เช่น นัดหมายนักแสดง จัดการเรื่องสวัสดิการในกองถ่าย การเงิน คือ เรียกได้ว่า ทุก ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ การประสานงานในกองถ่าย อย่างทีมงานจะต้องขึ้นรถที่ไหน กี่โมง ใครขึ้นรถคันไหน ไปถึงแล้วจะกินข้าวที่ไหน แต่งหน้าทำผมตรงไหน ถ้าต้องมีการย้ายสถานที่ถ่ายทำก็ต้องคอยดูแลจัดการเรื่องการขึ้นรถ การเคลียร์สถานที่ถ่ายทำเดิมที่เสร็จแล้วด้วย ถ้าในกองถ่ายขาดอะไร ต้องการอะไร ก็ต้องหามาให้ได้ รวมทั้งดูเรื่องเวลาการถ่ายทำด้วยว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ไหม ว่าวันนี้จะเลิก 6 โมงเย็น แต่ยังไม่เสร็จเลย อาจเลื่อนไปถึงเที่ยงคืน เลื่อนได้ไหม สถานที่มีปัญหาไหม งบจะบานปลายมากไปหรือเปล่า เรียกได้ว่าดูแลการถ่ายทำให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย และคอยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย

Location Manager : เป็นคนที่จัดการเกี่ยวกับสถานที่ถ่ายทำทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการหาสถานที่ถ่ายทำ การวางแผนเกี่ยวกับสถานที่ถ่ายทำ เช่น สมมติว่าได้สถานที่ถ่ายทำฉากนี้แล้ว ก็ต้องดูว่าตรงไหนจะเป็นที่ถ่ายทำ ตรงไหนจะเป็นที่พักทานข้าว ที่แต่งหน้าทำผม จะเข้าห้องน้ำตรงไหน นักแสดงพักตรงไหน รถจะจอดตรงไหน การเดินทางไปสถานที่ถ่ายทำเดินทางด้วยวิธีไหน ดูเรื่องค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่ถ่ายทำ ก่อนถ่ายทำต้องขออนุญาตตำรวจหรือไม่ ต้องขออนุญาตใช้เสียงหรือไม่ ฝ่ายฉากจะเข้าไปเซ็ตได้เมื่อไหร่ คือ ดูแลเรื่องสถานที่ถ่ายทำทั้งหมด ต้องทำงานประสานงานกับผู้จัดการกองถ่ายตลอดเวลา รวมถึงประสานงานกับผู้ช่วยผู้กำกับขณะถ่ายทำ และประสานงานกับฝ่ายฉากในตอนเซ็ตฉากด้วย ส่วนสถานที่ถ่ายทำถ้าหากสถานที่เดียวสามารถถ่ายได้หลาย ๆ ฉากจะดีมาก หรือไม่ก็เป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน จะได้ไม่เสียเวลาในการเดินทาง

Transportation Coordinator : ผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเดินทางของกองถ่าย การย้ายสถานที่ถ่ายทำ การขนข้าวขนของมากองถ่าย รถไฟ รถน้ำ รถสร้างพายุ รถตู้นักแสดง รถผู้กำกับ รถทีมงาน แต่ว่าส่วนใหญ่ที่เห็นในกองถ่ายหนังไทย หน้าที่นี้จะอยู่ในส่วนของผู้จัดการกองถ่าย

Post-Production Supervisor : คือผู้ควบคุมดูแลงานด้าน Post-production คือ งานหลังจากการถ่ายทำเสร็จแล้ว นั่นก็คือ การตัดต่อ การพากย์เสียง การผสมเสียง การทำ Visual Effect/Special Effect ต่าง ๆ

Production Accountant : ฝ่ายบัญชีกองถ่าย ผู้อำนวยการงบประมาณ ในกองถ่ายทำ

หลังการผลิต

Publicity Director : บรรณาธิการฝ่ายประชาสัมพันธ์

ใส่ความเห็น